วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประวัติส่วนตัว


ประวัติส่วนตัว

นาย วรัชชญา สนคณาวงค์    ( ชื่อเล่น เบลล์ )  

นักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ   สาขา การจัดการ  ชั้นปีที่ 2

อายุ 20 ปี เกิด วันที่ 19 พ.ค. 2537 ปี จอ

ที่อยู่ 61 หมู่ 15 ต. หนองกลับ อ. หนองบัว จ. นครสวรรค์ 60110


โทร 0970971655          E-mail :  green_naja@hotmailco.th 

ที่มาและความสำคัญ

ที่มาและความสำคัญ

 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานบุคคล หรือระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาให้สนับสนุนการดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคล ตั้งแต่การวางแผน การจ้างงาน การพัฒนาและการฝึกอบรม ค่าจ้างเงินเดือน การดำเนินการทางวินัย ช่วยให้การบริหารทรัพยากรบุคคลเกิดประสิทธิภาพ   (ณัฏฐพันธ์   เขจรนันทน์  และ ไพบูลย์ เกียรติโกมล ๒๕๔๕ : ๒๐๓)
             
                 ระบบสารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Information System: HRIS) เป็นฐานข้อมูลที่องค์การใช้เพื่อเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลพนักงานของตน (Ranieri ๑๙๙๓ : ๑)   โดยเป็นบัญชีรายชื่อพนักงาน และทักษะและขีดความสามารถของพนักงานในองค์การ  HRISควรเหมาะสมกับโครงสร้างเชิงสังคมและความเป็นหน่วยงานขององค์การ โดยต้องไม่ถูกสร้างขึ้นเพียงเพื่อเป็นเครื่องมือทางเทคนิคในการควบคุมพนักงานเท่านั้น แต่ควรใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสภาพการทำงานของพนักงานมากกว่า ซึ่งแนวความคิดนี้ต้องปรากฏในการออกแบบระบบและการใช้ โดยระบบที่ครอบคลุมจะสามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้แก่ ข้อมูลการจ่ายเงินเดือนประจำ ผลกำไร การขาดงานและวันลาพัก ข้อมูลการพัฒนาการบริหารเกี่ยวกับการฝึกอบรมและการพัฒนาที่จำเป็น ระดับการจ้างที่เพียงพอ หรือทักษะต่าง ๆ ที่มีประสิทธิผลที่สุดของทีมงาน   นอกจากนี้ ระบบที่ติดตามทักษะและประสบการณ์ของพนักงานทุกคน จะสามารถเฝ้าติดตามและประเมินการพัฒนาการบริหารได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะช่วยฝ่ายบริหารในการคาดการณ์ถึงความสำเร็จในสายอาชีพ การตัดสินใจวางแผนที่มีประสิทธิผล  และการกำหนดการฝึกอบรมและการพัฒนาที่จำเป็นโดยเหมาะสมกับเวลา ฐานข้อมูลการพัฒนาการบริหารมีประโยชน์อย่างยิ่งในยุค “การปรับองค์การ” สิ่งที่จำเป็นต้องมีคือข้อมูลจำนวนมากของกำลังคนที่มีเพื่อพิจารณาว่าทักษะใดที่จะเหมาะสมกับโครงสร้างใหม่หรือที่ปรับ ซึ่งระบบอัตโนมัติจะจัดข้อมูลเหล่านี้ให้ผู้บริหารระดับสูงสามารถค้นหาได้ด้วยปลายนิ้วมือ ช่วยให้สามารถเลือกบุคคลได้ตรงกับงานโดยเหมาะสมกับระยะเวลา

             
                  ระบบนี้จะช่วยสนับสนุนในการเลือกสรรบุคลากร จัดการรักษาระเบียบข้อมูลบุคลากรให้มีความสมบูรณ์ และสร้างสรรค์กิจกรรมที่กระตุ้นให้บุคลากรเกิดความคิดสร้างสรรค์และทักษะในการปฏิบัติงาน (Laudon & Laudon ๒๕๔๕)  ทั้งนี้ เกิดจาก “การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ” ซึ่ง หมายถึง วิธีการดำเนินกิจกรรมภายในองค์การและวิธีการบริหารงานที่แตกต่างไปจากเดิมไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างเส้นทางบริหารที่สั้นลง การกระจายอำนาจไปสู่ส่วนต่าง ๆ ความอ่อนตัวในการปฏิบัติงาน การกระจายที่ตั้งสำนักงาน ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่ต่ำลง การให้อำนาจแก่ส่วนต่าง ๆ การทำงานร่วมกันภายในและระหว่างองค์การ และการเกิดขึ้นขององค์การดิจิตอลซึ่งประกอบด้วยการสร้างความสัมพันธ์ทางดิจิตอลกับลูกค้า (หน่วยเหนือ หน่วยรอง ผู้บังคับบัญชา กำลังพล) บริษัทคู่ค้า (ส่วนราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง) และเจ้าหน้าที่ในสายงานกำลังพล กระบวนการทางสายงานที่ทำงานด้วยระบบดิจิตอล การบริหารจัดการงบประมาณและกำลังพลขององค์การด้วยระบบดิจิตอล และการตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม โดยองค์การดิจิตอลแตกต่างจากองค์การแบบเก่าตรงที่มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้งานอย่างกว้างขวางในเกือบทุกส่วนขององค์การ รวมทั้งการบริหารและการจัดการ ซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ใช่เป็นเพียงเครื่องมือ แต่เป็นองค์ประกอบหลักของการดำเนินธุรกิจและเป็นเครื่องมือหลักสำหรับการบริหาร

วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์

1. เพื่อเป็นแนวคิดและข้อมูล ข่าวสาร และสารสนเทศเพื่อการจัดการทรัพยากรมนุษย์
2. เข้าใจถึงลักษณ และประเภทของระบบสารสนเทศเพื่อการจจัดการทรัพยากรมนุษย์


ปัจจัยภายนอก 

       ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมือง ด้านเทคโนโลยี ด้านสังคมและวัฒนธรรม ล้วนแล้วแต่มีผลต่อองค์กรเป็นอย่างมาก เช่น การขยายตัวของชุมชน การเปลี่ยนแปลงนโยบายบริหารประเทศของรัฐบาล การปรับเปลี่ยนนโยบายทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร รวมถึงการเข้ามาของวัฒนธรรมต่างชาติ ส่งผลให้คนในสังคมหรือในองค์กรต่างๆ ต้องปรับตัวตามความเปลี่ยนแปลงนั้นๆ ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในองค์กรธุรกิจ ดังนั้น หากองค์กรใดมีระบบสารสนเทศที่ถูกต้อง แม่นยำครบถ้วนและทันต่อเหตุการณ์ ก็จะสามารถตัดสินใจได้รวดเร็วและถูกต้องกว่า


ปัจจัยภายใน 


       นอกจากจะมีปัจจัยต่างๆ จากภายนอกองค์กร ที่เข้ามามีอิทธิพลต่อองค์กรแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ ภายในองค์กรที่เราต้องคำนึงถึงด้วย เช่น ปัจจัยด้านบุคลากร (Human Resources) ปัจจัยด้านสารสนเทศ (Information Technology) ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ (Management) ปัจจัยด้านบัญชีและการเงิน (Financial/Accounting) ปัจจัยด้านการตลาด (Marketing/Sales) และปัจจัยด้านการวิจัยและพัฒนา (Research & Development)เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่มีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบสารสนเทศขององค์กร เพื่อนำมาปรับปรุงการทำงาน โดยเฉพาะในเรื่องของการจัดการทรัพยากรบุคคล ซึ่งองค์กรต้องยอมรับว่า การที่จะดำเนินงานต่างๆ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีประสิทธิภาพเสียก่อน ดังนั้น ระบบสารสนเทศในการบริหารงานด้านบุคลากร จึงเป็นสิ่งที่ผู้บริหารไม่ควรจะละเลย และต้องพยายามส่งเสริมให้มีขึ้นในองค์กรของตน

ประโยชน์ของระบบ

ประโยชน์ของระบบ

1.ผู้บริหารสามารถเพิ่มขีดความสามารถด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์
2.ผู้บริหารสามารถจัดสรรบุคคลให้เหมาะสมกับงานตลอดจนสร้างระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ดี
3.บุคลากรที่ได้รับการพัฒนาตนเองทั้งในส่วนความรู้ความสามารถและประสบการณ์การทำงาน
4.บุคลากรทำงานได้เต็มศักยภาพและมีความพอใจกับผลงานที่ได้รับจึงมีขวัญกำลังใจในการทำงาน
5.บุคลากรจะได้รับการปรับปรุงคุณภาพชีวิตและมีสภาพการทำงานที่ดีขึ้น
6.องค์กรบรรลุเป้าหมายในการทำงานและดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง
7.องค์กรมีโอกาสที่พัฒนาความร่วมมือความร่วมใจในการทำงาน
8.สังคมอยู่ได้อย่างสันติเนื่องจากบุคคลในสังคมมีรายได้จากกานทำงาน


9.ประเทศชาติมีฐานะที่ดีขึ้นเพราะองค์กรเติบโตอย่างมั่นคง

ข้อดี/ข้อเสีย

ข้อดี/ข้อเสีย
 ข้อดี
 1. ระบบสารสนเทศสามารถทำการคำนวณและประมวลผลงานได้เร็วกว่าคนมาก
 2. ระบบสารสนเทศนำเสนอประสิทธิภาพผ่านการให้บริการต่างๆเช่น ตู้เบิกเงินอัตโนมัติเอทีเอ็ม
 ระบบโทรศัพท์ หรือเครื่องที่ใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมเป็นต้น
 3. ระบบอินเตอร์เน็ตช่วยในการเผยแพร่ข่าวสารไปสู่คนทั่วโลกได้
 4. ระบบสารสนเทศช่วยให้สามารถบันทึกรายละเอียดของคนได้อย่างง่ายดายซึ่งอาจจะเป็นการละเมิด  สิทธิส่วนบุคคล
 5. ผู้คนที่ใช้ระบบสารสนเทศเป็นอย่างมากจะประสบปัญหาการเจ็บป่วยในรูปแบบใหม่ๆ


ข้อเสีย      
  1.ระบบสารสนเทศช่วยเหลือองค์กรในการเรียนรู้รูปแบบการซื้อสินค้าและความชอบของลูกค้า
  2.ระบบสารสนเทศสนับสนุนการรักษาโรคขั้นก้าวหน้ารังสีวิทยาและการเฝ้าตรวจคนไข้
  3.ระบบงานที่สามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติอาจทำให้มีคนตกงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
  4.ระบบสารสนเทศถูกนำมาใช้งานอย่างกว้างขวางแทบจะในทุกเรื่องการล้มเหลวของระบบงาน
  อาจนำไปสู่ความล้มเหลวขององค์กรระบบขนส่งมวลชนหยุดทำงานหรืออาจร้ายแรงถึงขั้นทำให้ชุมชน   เป็นอัมพาตได้

 5.ระบบอินเตอร์เน็ตอาจถูกนำมาใช้ในการถ่ายทอดข้อมูลหรือโปรแกรมที่ละเมิดลิขสิทธิ์ได้

วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ตัวอย่างของระบบ

ตัวอย่างของระบบ

1. กรณีสำนักงานแรงงานสากล (International Labor Office)
สำนักงานแรงงานสากล (ILO) ใช้เวลา ๒ ปีในการสร้างระบบสารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ (HRIS)โดยเมื่อตัดสินใจสร้าง ได้จัดตั้งชุดทำงานประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ทรัพยากรมนุษย์ ๒ คน และเจ้าหน้าที่เทคนิคด้านสารสนเทศ ๓ คน เพื่อพัฒนาโครงการ (Ranieri ๑๙๙๓ : ๑๕) ชุดทำงานเริ่มด้วยการสอบถามผู้ที่คาดว่าจะเป็นผู้ใช้ระบบสารสนเทศนี้ทุกคน ได้แก่ เจ้าหน้าที่เงินเดือน และผู้กำหนดนโยบายทรัพยากรมนุษย์ในตำแหน่งผู้บริหารระดับกลางและเสมียน เพื่อพิจารณาว่าระบบที่ใช้ปัจจุบันเป็นอย่างไรและต้องเพิ่มงานอะไร ซึ่งให้ข้อมูลพื้นฐานในการกำหนดหลักเกณฑ์ของผู้ใช้ของซอฟท์แวร์ HRIS การตัดสินใจเกี่ยวกับซอฟท์แวร์ ขั้นแรกชุดทำงานต้องตัดสินใจว่าจะพัฒนาซอฟท์แวร์เอง ซื้อระบบใหม่ทั้งหมดจากผู้ขายซอฟท์แวร์ หรือใช้ซอฟท์แวร์ใหม่ที่กำลังพัฒนาสำหรับสหประชาชาติ (UN)  แม้การพัฒนาซอฟท์แวร์เองจะมั่นใจได้ว่าสามารถสนองตอบความต้องการเฉพาะของ ILO แต่ก็ใช้งบประมาณสูง และเมื่อเสร็จแล้ว การที่จะปรับปรุงหรือเพิ่มเติมทำได้ยาก จึงตัดวิธีนี้ไป เหลือพิจารณาเพียงอีกสองทางเลือก ILO ได้จัดทำรายการข้อกำหนดซอฟท์แวร์ มีพื้นฐานจากการสอบถามผู้ใช้เพื่อตรวจสอบซอฟท์แวร์ที่มีอยู่   จากนั้นส่งคำเสนอความต้องการ (RFP) ไปยังผู้ขาย ๑๓๐ รายทั่วโลก โดยได้รับคำตอบ ๖๐ ราย ชุดทำงานสัมภาษณ์ผู้ตอบรับแต่ละรายและจัดลำดับตามการสนองตอบต่อข้อกำหนดของ ILO จากนั้นสรุปผลและตัดรายชื่อเหลือ ๑๕ ซอฟท์แวร์ แล้วติดต่อผู้ขายซอฟท์แวร์ให้เสนอรายละเอียดเฉพาะทางเทคนิค ซึ่ง ILO มีพนักงานทั่วโลกต้องการรับเงินเดือนสกุลต่าง ๆ   รวมทั้งเงินค่าเช่าที่รวมอยู่ในการจ่ายเงินเดือนและการปรับจ่ายเงินปันผลย้อนหลังที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ   และจะยุ่งยากมากขึ้นเมื่ออัตราการแลกเปลี่ยนเงินเปลี่ยนแปลง ซึ่งซอฟท์แวร์จะต้องสามารถแก้ปัญหานี้ขององค์การ ชุดทำงานได้ทำการประเมินอีกครั้งและลดรายชื่อผู้ขายลงเหลือ ๓ ราย ผู้ขายแต่ละรายจะมีเวลาหนึ่งอาทิตย์ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมของซอฟท์แวร์ มีการสอบถามผู้ใช้และนักเทคนิคและสร้างภาพจำลองการใช้งานของ ILO   มีการใช้แบบประเมินเชิง subjective (มีความคิดเห็นส่วนตัวเข้าเกี่ยวข้อง) ซึ่งหนึ่งในสามระบบสุดท้าย เป็นซอฟท์แวร์ของ UN   ชุดทำงานประเมินระบบทั้งสามเป็นครั้งสุดท้ายและตัดสินใจเลือกซอฟท์แวร์ที่ UN ใช้ ซึ่งซอฟท์แวร์นี้ก่อปัญหาแก่ ILO เพราะแทนที่จะทำซอฟท์แวร์ให้เหมาะสมกับองค์การ กลับต้องปรับองค์การให้เข้ากับซอฟท์แวร์ แต่ ILOก็ทำงานอย่างใกล้ชิดกับระบบของ UN ทำให้ระบบเก็บบันทึกน่าจะเข้ากันได้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดจะสามารถสร้างความสอดคล้อง ระหว่างระยะเวลาการจ่ายเงินกับโครงสร้างองค์การ สรุปแล้ว ILO ใช้เวลาประมาณ ๒ ปี เพื่อเลือกซอฟท์แวร์นับแต่วันที่จัดตั้งชุดทำงาน และกว่าจะใช้ระบบอย่างเต็มที่ก็ต้องใช้เวลา ๒ ถึง ๓ ปี

2. กรณี Nestle, SA
Nestle, SA มีสาขาหลายประเทศ ที่สำนักงานใหญ่ใน Vevey สวิทเซอร์แลนด์  Nestle, SA ได้ใช้ HRIS ติดตามข้อมูลการย้ายระหว่างประเทศของพนักงาน โดยมีแผนกหนึ่งในฝ่ายทรัพยากรมนุษย์มีหน้าที่ประสานงานการย้ายพนักงานทุกคนจากฝ่ายหนึ่งไปอีกฝ่ายหนึ่ง โดยดำเนินการในทุกเรื่องที่จำเป็นเพื่ออำนวยต่อการย้ายพนักงานไปอีกประเทศหนึ่ง รวมทั้งการขายบ้านและรถของพนักงาน การหาที่พักที่ตำแหน่งใหม่ ประสานงานการฝึกอบรมครอบครัวสำหรับการย้ายครั้งแรก และจัดการตรวจทางการแพทย์ก่อนเดินทาง (Ranieri ๑๙๙๓ : ๑๖) เนื่องจาก Nestle มีพนักงานทั่วโลก จึงต้องมี HRIS จัดเก็บบันทึกข้อมูลพนักงานที่ย้ายทุกคน   เพื่อติดตามข้อมูลการย้ายระหว่างประเทศ เช่น ชื่อพนักงาน ที่อยู่ ผู้ติดตาม (Dependent) ประวัติเงินเดือน ประสบการณ์การทำงาน การศึกษา การฝึกอบรม และความสามารถในการเจรจา (Diplomas)  ทั้งนี้ ผู้บริหารระดับสูง ฝ่ายฝึกอบรม และฝ่ายทรัพยากรมนุษย์เท่านั้นที่จะเข้าถึงระบบ โดยผู้บริหารจะใช้ HRIS เพื่อหาว่าผู้ที่มีทักษะเฉพาะไปบรรจุในตำแหน่งว่าง   ฝ่ายฝึกอบรมใช้ในการพิจารณาแผนการฝึกในอนาคต ซึ่งฐานข้อมูลที่ละเอียดทำให้งานทรัพยากรมนุษย์ของ Nestleทำให้สารสนเทศสมบูรณ์ พร้อมต่อการเข้าถึง   และมีทุก ๆ ข้อมูล (ในการย้ายข้ามประเทศ) โดยทันที

3. สำนักงาน ก.พ. (http://www.ocsc.go.th/DPIS)

สำนักงาน ก.พ. พัฒนาโปรแกรมระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคลระดับกรม (DPIS: Departmental Personnel Information System) เพื่อเป็นเครื่องช่วยในการบริหารจัดการข้าราชการ และลูกจ้างประจำระดับกรม สนับสนุนการปฏิบัติงานประจำวันของกรมที่เกี่ยวกับงานการเจ้าหน้าที่และการจ่ายเงินเดือน เพื่อให้ส่วนราชการมีระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคลที่ใช้เป็นฐานในการวางแผนและการบริหารทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการและเพื่อสร้างระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคลที่มีมาตรฐาน และสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงาน